สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เลี้ยงอึ่งอ่าง สัตว์ทำเงิน เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ สร้างรายได้ทั้งปี กิโลละ 250 บาท  (อ่าน 5129 ครั้ง)

admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 639
    • ดูรายละเอียด

ในฤดูฝน บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ก็จะออกมาเริงร่าให้ผู้คนจับมาเป็นอาหาร ซึ่งก็มีสัตว์ชนิดหนึ่งที่เริ่มหายากและราคาแพงขี้นทุกที นั่นก็คือ อึ่งอ่าง โดยสายพันธุ์อึ่งที่นิยมกินกันนั้น จะเป็น อึ่งเผ้า อึ่งปากขวด หรืออึ่งโกก หรืออึ่งข้างลายนั้นเอง.เป็นอึ่งชนิดเดียวกัน…ราคานั้นก้ไม่เบาเลย สูงถึง กิโลกรัมละ 200-250 บาท เลยทีเดียว
ด้วยการที่เป็นที่นิยมกินกันมาก จึงทำให้อึ่งเผ้า หรืออึ่งปากขวดนั้นเริ่มหายาก เราจึงขอนำวิธีการเพาะเลี้ยงอึ่งเผ้า มาฝาก
อึ่งปากขวด หรือ อึ่งเผ้า มีลักษณะเฉพาะตัวคือ มีความยาวจากหัวจรดถึงก้นประมาณ 73 มิลลิเมตร ลำตัวอ้วนป้อม มีลักษณะเด่นคือ หน้าสั้นมาก ปากแคบและทู่ไม่มีฟัน ไม่เหมือนกับกบหรืออึ่งอางชนิดอื่น ๆ ตาเล็ก ขาสั้น แผ่นเยื่อแก้วหูเห็นไม่ชัด ลำตัวสีน้ำตาลดำหรือสีเทาดำ ใต้ท้องสีขาว บางตัวอาจมีจุดกระสีเหลืองกระจายอยู่ทั่ว เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดเกาะติดอยู่ ใช้สำหรับว่ายน้ำ และมีสันใต้ฝ่าเท้าหลังใช้สำหรับขุดดิน อึ่งปากขวด พบในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่เหนือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นไป
โดยมีพฤติกรรมอาศัยโดยขุดโพรงดินที่เป็นดินปนทรายและอาศัยอยู่ภายใน ในป่าที่มีความชุ่มชื้นใกล้กับพื้นที่ชุ่มน้ำ ในฤดูร้อนจะซ่อนตัวในโพรงแทบตลอด เมื่อฝนตกจะออกมาหากิน โดยหากินในเวลากลางคืน ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝน โดยจะทำการผสมพันธุ์วางไข่เร็วกว่าอึ่งอ่างหรือกบชนิดอื่น ลูกอ๊อดมีลำตัวป้อมและโปร่งแสง ลำตัวเป็นสีเหลือง มีส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีดำ จะหากินอยู่ในระดับกลางน้ำ โดยจะว่ายทำมุมประมาณ 45 องศา อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ไปไหนมาไหนพร้อมกันเป็นฝูง อึ่งปากขวด ปัจจุบัน มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก เพราะการถูกจับมาบริโภคและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป
การเลี้ยงอึ่งปากขวด หรืออึ่งเผ้า
ลักษณะบ่อเพาะเลี้ยงอึ่งโกก หรือ อึ่งเผ้า
– บ่อซีเมนต์ ขนาด 2X4X1 เมตร ผนังเรียบ
– พื้นบ่อเป็นทรายละเอียดหนา 50 ซม. อีกฝั่งหนึ่งทำเป็นบ่อน้ำขอบบ่อเสมอกับพื้นดินทราย
– หลังคาคลุมด้วยสแลนท์พลางแสง 80 %
– ขอบบ่อด้านบน วางแผนสังกะสีให้ด้านหนึ่งของสังกะสีเลยเข้ามาในบ่อประมาณ 15 นิ้ว กันอึ่งหนีออกบ่อ
– ติดตั้งสปริงเกอร์ และ หลอดไฟฟ้า ในบ่อ 1 จุด
การเลือกพ่อแม่พันธุ์อึ่ง
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์อึ่งนั้น สามารถรวบรวมได้จากธรรมชาติ บริเวณป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน (พบมากในช่วงฝนตกหนักครั้งแรกของฤดูฝน) เมื่อรวบรวมมาได้แล้วให้คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ดังนี้….
เพศผู้
– ลำตัวมีสีดำเข้มข้างตัวมีลายดำจุดขาว
– ลำตัวเล็ก และ ยาวกว่าเพศเมีย
เพศเมีย
– ลำตัวสั้น และ ใหญ่กว่าตัวผู้
– ข้างตัวมีลายจุดขาวอมเหลือง ผนังท้องบางมองเห็นไข่
– ตัวเมียที่มีไข่เต็มท้องโดยหงายดูที่ท้องจะเห็นไข่ลักษณะสีดำ
วิธีการเพาะพันธุ์อึ่งโกก หรืออึ่งเผ้า
ใช้อัตราส่วนเพศผู้: เพศเมีย (1:1) จำนวน 1 – 2 คู่ ต่ออ่าง ใส่น้ำครึ่งอ่าง เมื่อเห็นไข่ลอยเต็มอ่างภายใน 11 – 12 ชม. ให้แยกพ่อแม่พันธุ์ออกจากอ่าง( แม่พันธุ์ 1 ตัวให้ไข่ 8,000 – 10,000ฟอง)ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 24 ชม.
อาหารและการให้อาหารอึ่ง
ใน 3 วันแรกลูกอ๊อดไม่กินอาหาร เมื่อลูกอ๊อดอายุ 4 วัน เริ่มให้ไข่แดงต้มสุก บดให้ละเอียด วันละ 1 ครั้งในตอนเช้า ประมาณ 1/4 ฟอง ต่ออ่าง เมื่อลูกอ๊อดอายุ 7 วัน เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กโปรตีน 32% 100 กรัมต่ออ่าง ให้วันละ 1 ครั้ง จนลูกอ๊อดอายุประมาณ 45 วัน หางลูกอ๊อดเริ่มหลุด หลังจากลูกอ๊อดหางหลุด อึ่งจะพัฒนาเหมือนตัวเต็มวัย และจะออกจากอ่าง ลงบนพื้นทราบในบ่อประมาณ 3 วัน อึ่งจะฝังตัวในทรายบนพื้นบ่อ กรณี ให้อาหารเสริม เช่นปลวก และแมลง ให้เปิดสปริงเกอร์วันละ 1 ครั้ง และเปิดไฟล่อแมลงในบ่อตอนกลางคืน
วิธีการจับอึ่งจากการเพาะเลี้ยง
– โดยการนำแผ่นสังกะสีวางบนหลังคาที่คลุมด้วย สแลนต์แล้วจึงใช้น้ำฉีดที่แผ่นสังกะสี(เป็นการเลียนแบบฝนตก) อึ่งเผ้าที่ฝังตัวอยู่ในทรายจะออกมา
– ปล่อยให้น้ำท่วมพื้นบ่อ อึ่งจะขึ้นมาบริเวณผิวน้ำสามารถคัดขนาดได้ตามต้องการ
ขอบคุณที่มา : https://www.kasetnana.com/